พันธกิจ (MISSION)
1. การเป็นคลังข้อมูล (Data Warehousing) ของประเทศไทย
2. การวิเคราะห์ข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล (Data Analytics and Mining) เพื่อสร้างสารสนเทศ (Information) และปัญญา (Intelligence)
3. การนำสารสนเทศและปัญญามาร่างแนวทางในการแก้ปัญหา (Solutions) และนโยบาย (Policy) ในการพัฒนาประเทศ โดย อาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ NIDA IIC เป็น Think tank ของประเทศไทย
NIDA IIC เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากทั้งภายนอกและภายในสถาบันหรือข้อมูลออนไลน์ เช่น OLAP หากมีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ทาง NIDA IIC จะไม่ดำเนินการแต่จะจ้างหน่วยงานในสถาบันที่มีความชำนาญในการวิจัยเชิงสำรวจมากกว่าเช่น สำนักวิจัย หรือ NIDA Poll เพื่อให้พันธกิจไม่ซ้ำซ้อนกัน
ยุทธศาสตร์ในระยะยาว
1. NIDA IIC จะเป็นสำนักที่บูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ทั้งนี้คณาจารย์ในสถาบันสามารถเข้ามาร่วมตั้งศูนย์การวิเคราะห์ด้านต่างๆ เช่น Marketing Analytics Center, Financial Analytics Center, Human Resource Analytics Center, Aging Analytics Center, Political Analytics Center, Tourism Analytics Center, Media Analytics Center ตามความสนใจและความเชี่ยวชาญของคณาจารย์แต่ละท่านได้ NIDA IIC จะมี Quantitative Analysts และ Strategists ที่คอยสนับสนุนคณาจารย์ในการวิเคราะห์และสร้างงานวิจัยเชิงนโยบาย แนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับประเทศไทย เปิดโอกาสให้คณาจารย์ในสถาบันได้เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ย่อยๆ ใน NIDA IIC เพื่อให้เกิดงานวิจัยและการบูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการเข้าด้วยกัน โดยที่ NIDA IIC จะมีทีมงาน Quantitative Analyst และ Strategists เพื่อสนับสนุนคณาจารย์และศูนย์ต่างๆ ภายใน NIDA IIC
2. NIDA IIC จะสร้าง Quantitative Analysts และ Strategists เอง โดยในระยะแรกจะเน้นไปที่การสร้าง Quantitative Analysts ที่มีคุณภาพ เพราะประเทศไทยขาดแคลนและหาได้ยาก NIDA IIC จะขอทุนการศึกษาจากสถาบัน ปีละ 2 ทุน และไปค้นหานักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือโทจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอกหรือปริญญาโทในสถาบันซึ่งมีการเรียนการสอนด้าน Analytics เช่น หลักสูตรในคณะสถิติประยุกต์ ด้านสถิติ วิเคราะห์ธุรกิจหรือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ในระหว่างศึกษานักศึกษาต้องทำงานครึ่งเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ให้กับ NIDA IIC และหลักสูตรในคณะสถิติประยุกต์จะนับการทำงานหรือการฝึกงานเป็นหน่วยกิตของนักศึกษาในลักษณะของ Practicum, Internship, หรือ Statistical Consultation ได้ และผู้รับทุนต้องทำงานชดใช้ทุนเป็นระยะเวลาสองเท่าของเวลาที่ใช้ในการศึกษาหลังจากที่สำเร็จการศึกษา โดยได้รับค่าตอบแทนและผลประโยชน์เพิ่มเติมตามผลงาน
3. NIDA IIC จะแสวงความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยสร้างเครือข่ายและพันธมิตร เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ สภาหอการค้าไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ตลอดจนบริษัทเอกชน ทั้งนี้จะทำให้ NIDA IIC มีฐานข้อมูลที่ใหญ่และต่อเนื่องเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และนำเสนอนโยบายและแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
4. NIDA IIC จะใช้แผนการสื่อสารแบบบูรณาการ โดยสนับสนุนให้คณาจารย์ที่ทำงานในศูนย์ย่อยต่างๆ ได้นำเสนอความรู้สู่สังคม มีการทำ press release นำเสนอผลการวิจัยแก่สาธารณชนและผู้ตัดสินใจด้านนโยบายของประเทศ การออกรายการวิทยุและโทรทัศน์ การเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และการเขียนบทความวิชาการในวารสารทางวิชาการในสาขาต่างๆ
แผนยุทธศาสตร์ในระยะสั้น
1. ดึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้าน analytics ในสถาบัน มาร่วมงานกับ NIDA IIC
2. ตั้งศูนย์วินิจฉัยวิเคราะห์องค์การ (Organization diagnosis and analytics) และศูนย์วิเคราะห์ทางวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง (Actuarial Sciences and Risk Management Analytics) ซึ่งมีแนวโน้มจะสร้างรายได้เข้า NIDA IIC และนำมาซึ่งผลงานวิจัยเชิงนโยบาย
3. จัดตั้งหน่วยงาน ร่างระเบียบการเงิน โครงสร้างการบริหารงาน ให้ชัดเจน
4. แสวงหาฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และคณาจารย์ที่จะมาวิเคราะห์ โดยรวบรวมฐานข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งข้อมูลที่เกิดจากการวิจัยในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เอง เช่น ข้อมูลจาก NIDA Poll ข้อมูลงานวิจัยของสำนักวิจัย ศูนย์บริการวิชาการ และคณะต่างๆ อีกส่วนคือข้อมูลจากภายนอกสถาบัน ซึ่งอาจจะได้มาโดยเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย